บทความเด่น: ยิ่งกว่าหยาดเหงื่อและแรงบันดาลใจ
นิตยสาร Life ยกย่องเขาว่าเป็นบุคคลหมายเลขหนึ่งแห่งสหัสวรรษ จำนวนสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นก็น่าทึ่ง – มีถึง 1093 อย่าง เขาถือสิทธิบัตรมากกว่าใครๆ โดยได้รับอย่างน้อยทุกๆ ปีเป็นเวลา 65 ปีติดต่อกัน เขายังได้พัฒนาห้องทดลองค้นคว้าวิจัยสมัยใหม่เขาผู้นี้คือ โธมัส เอดิสัน เมื่อพูดถึงความสามารถของเอดิสัน คนส่วนใหญ่ยกย่องความเป็นอัจฉริยะในการประดิษฐ์ของเขา แต่เขาเองยกย่องการทำงานหนัก เขากล่าวว่า “อัจฉริยะก็คือหยาดเหงื่อ 99% และแรงบันดาลใจ 1%” ผมเองเชื่อว่าความสำเร็จของเอดิสันเป็นผลมาจากปัจจัยที่ 3 ด้วย นั่นก็คือทัศนคติที่ดีของเขา อ่านต่อ...
บทความที่น่าสนใจ The 3rd Birthday ล่าสุดสดๆร้อนๆ / ไทยจ่อเลิกใช้“แบล็คเบอร์รี่” / Code Geass R2 รางวัล การ์ตูนญี่ปุ่น Anime ยอดเยี่ยมปี 2009 / พลิกปูมงบ ส.ส.ในอดีต / ความลับของ Internet / Amazing in Thailand / สุดเซอร์ไพรส์ 6 เรื่องแปลก ผ่าน Facebook ที่คุณต้องอ่าน... / Nielsen รายงาน Android แซง iPhone ได้เป็นครั้งแรก

วันโอโซนโลก 16 กันยายน

เขียนโดย Panya Chitmedha On 22:56
ความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล"
สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ

ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมี ที่ถูกควบคุมคือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3 ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด

ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซสำหรับ เป่าโฟมและเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความ สะอาดล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์หรือแม้แต่สารที่ อยู่ในกระป๋องสเปรย์ ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิง ในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย ซึ่งการใช้สาร CFC ก็มีมากในการอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมยิ่งพัฒนา ก็จะมีการทำลายโอโซนกันมากเท่านั้น



เกราะป้องกันของโลกตัวนี้ชื่อว่า โอโซน (OZONE) โอโซนเกิดจากธรรมชาติ เกิดจากออกซิเจน 3 อะตอม มีหน้าที่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตและ รังสีคอสมิกผ่านมายังโลก เพื่อไม่ให้มวลมนุษย์และสัตว์บนโลกเกิดอันตรายในการดำรงชีวิต เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต สามารถทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ โดยปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่กระทบผิวหนังมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังขึ้นได้ หรือ อาจมีผลในเรื่องอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันเนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง

"โอโซน" มีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชำระล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ โดยการนำโอโซนผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ มาทำน้ำดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี

จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น “วันโอโซนโลก” เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา

วัตถุประสงค์
1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ
ที่มา :
http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/newspr_day_09_16.htm
http://www.hunsa.com/variety/new16.shtml
http://www.thai.net/smileman/wonosone.htm
http://www.admin.rtaf.mi.th/Datamaintodayinhistory/sep.htm



0 Response to 'วันโอโซนโลก 16 กันยายน'

แสดงความคิดเห็น

Categories