บทความเด่น: ยิ่งกว่าหยาดเหงื่อและแรงบันดาลใจ
นิตยสาร Life ยกย่องเขาว่าเป็นบุคคลหมายเลขหนึ่งแห่งสหัสวรรษ จำนวนสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นก็น่าทึ่ง – มีถึง 1093 อย่าง เขาถือสิทธิบัตรมากกว่าใครๆ โดยได้รับอย่างน้อยทุกๆ ปีเป็นเวลา 65 ปีติดต่อกัน เขายังได้พัฒนาห้องทดลองค้นคว้าวิจัยสมัยใหม่เขาผู้นี้คือ โธมัส เอดิสัน เมื่อพูดถึงความสามารถของเอดิสัน คนส่วนใหญ่ยกย่องความเป็นอัจฉริยะในการประดิษฐ์ของเขา แต่เขาเองยกย่องการทำงานหนัก เขากล่าวว่า “อัจฉริยะก็คือหยาดเหงื่อ 99% และแรงบันดาลใจ 1%” ผมเองเชื่อว่าความสำเร็จของเอดิสันเป็นผลมาจากปัจจัยที่ 3 ด้วย นั่นก็คือทัศนคติที่ดีของเขา อ่านต่อ...
บทความที่น่าสนใจ The 3rd Birthday ล่าสุดสดๆร้อนๆ / ไทยจ่อเลิกใช้“แบล็คเบอร์รี่” / Code Geass R2 รางวัล การ์ตูนญี่ปุ่น Anime ยอดเยี่ยมปี 2009 / พลิกปูมงบ ส.ส.ในอดีต / ความลับของ Internet / Amazing in Thailand / สุดเซอร์ไพรส์ 6 เรื่องแปลก ผ่าน Facebook ที่คุณต้องอ่าน... / Nielsen รายงาน Android แซง iPhone ได้เป็นครั้งแรก
ในสังคมปัจจุบันนี้ “การให้เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่จริง” เมื่อโลกเริ่มเข้าสู่ยุคอินเทอร์เนตนั้น ผมได้เจอหลายเว็บไซด์หรือบล็อกเกอร์ ที่ยินดีมาแบ่งปันข้อมูลโดยไม่คิดเงินสักบาท

ตัวอย่างเช่น เว็บไซด์ tuvayanon.net ที่เป็นเว็บที่มาแบ่งปันความรู้เรื่องการเพาะกาย ของพันตำรวจโทวิษณุ ตุวยานนท์ ซึ่งเป็นนายตำรวจ แต่มีความสนใจในกีฬาชนิดนี้เป็นการส่วนตัว และอ่านหนังสือ ตำรับตำรามากมายทั้งไทยและเทศ เลยหาพื้นที่แบ่งปันความรู้ จนปัจจุบันมีคนเข้ามาดูหน้าเว็บ วันละเป็นหมื่นๆ คน โดยคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไม่เสียเงินสักบาท แต่ได้ความรู้ไปเต็มๆ เหมือนอ่านหนังสือหลายเล่ม ยอมรับข้อมูลเขาแน่นจริงๆ

ถ้าเป็นในอดีตการจะทำแบบนี้ได้ คงต้องไปพิมพ์หนังสือ หรือเสียเงินเพื่อขอพื้นที่ในนิตยสารฉบับต่างๆ แต่ปัจจุบันสามารถแชร์ได้ทั้งแบบฟรีผ่านบล็อกต่างๆ หรือถ้าเป็นเว็บไซด์ก็เสียค่าเช่าพื้นที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับข้อมูลที่ใส่ลงไป

ตัวอย่างบล็อกแห่งการแบ่งปันที่ดีอีกบล็อกหนึ่งคือ pawawit.blogspot.com ของคุณภาววิทย์ กลิ่นประทุม แบ่งปันเกี่ยวกับความรู้ในการลงทุน จนได้รับรางวัล Thailand Blog Award 2010 ไปเรียบร้อย จนปัจจุบันได้รับความสนใจและถูกเรียกร้องให้เขียนหนังสือออกมามากมาย แต่ละเล่มก็เป็น Best Seller ทั้งนั้น ก็เริ่มต้นจากยินดีให้ความรู้เรื่องการลงทุนฟรีผ่านบล็อกก่อนเช่นกัน สุดยอดจริงๆ

หลายคนอาจจะคิดว่า ทำบล็อกไม่เห็นจะยากอะไร แค่คลิ๊กๆ 2 ชั่วโมงก็ออกมาเป็นบล็อกแล้ว แต่หารู้ไม่ บล็อกของพวกเขาเหล่านี้มีบทความเป็นพันๆ เรื่อง อัพเดทกันตลอด จนสามารถกลายเป็นที่รู้จักได้ขนาดนี้

และนอกจากเนื้อหาที่เป็นข้อมูล ในโลกอินเทอร์เนตยังสามารถแชร์หรือแบ่งปันในรูปแบบของสื่อมีเดียต่างๆ เช่น ช่องวีดีโอใน Youtube ของยูสเซอร์ที่ชื่อ MrDenbit นั้น เป็นช่องที่ออกมาแสดงทักษะการเล่นกีตาร์แบบ Finger style พร้อมเปิดสอนให้คนที่สนใจมาเรียนฟรี!!! ฟรีจริงๆ ไม่โกหก ขอแค่คุณมีเวลาเท่านั้น และยังติดต่อขอโน้ตเพลง หรือ Tablature ได้ฟรีโดยไม่ห่วง ไม่เหมือนบางแห่งที่มีการคิดเงิน ตั้ง 50-300 บาทต่อแผ่น แต่ อ.เด่นของเราแจกฟรีครับ เฉพาะเพลงที่แกะไว้แล้ว เป็นไงสุดยอดไหม!!!

นี่แหละ พลังแห่งการให้ ผมลองอ่านชีวิตของพวกเขาเหล่านี้ ทุกคนมาจากแรงจูงใจที่คล้ายกันคือ อยากให้คนมีความรู้ และไม่ถูกหลอก จึงนำความรู้ที่พวกเขามีมาแบ่งปัน บางท่านต้องอ่านตำราเป็นร้อยๆ เล่ม เสียเงินไปเรียนรู้ที่โน้นที่นี้ เพื่อจะมาแบ่งปันความรู้เหล่านั้นให้พวกเราฟรี แล้วเราล่ะ จะเข้าโลกอินเตอร์เนตเพื่อรับอย่างเดียว หรือจะนำสิ่งที่เรามีไปแบ่งปันเพื่อให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้นบ้าง...


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


เคยได้ยินกันมาว่า "ชาเขียว" เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก จึงช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุ ฯลฯ จึงทำให้ความนิยมใน "ชาเขียว" เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

แต่ทว่า มีหลายคนเคยได้รับฟอร์เวิร์ดเมล์ เตือนภัยเกี่ยวกับเรื่องการดื่มชาเขียว ในทำนองว่าต้องดื่มชาเขียวที่ร้อน ๆ เท่านั้น ถึงจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง หากกลับกันไปดื่มชาเขียวแช่เย็น อย่างที่เรา ๆ นิยมกัน จะกลายเป็นโทษมหันต์ เพราะนอกจากจะไม่ช่วยลดอนุมูลอิสระสารพิษออกจากร่างกายแล้ว ยังก่อให้เกิดมะเร็งได้อีก แถมยังทำให้ไขมันในร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และอุดตันตามผนังลำไส้ ทำให้เกิดโรคร้ายตามมาได้อีก หากไม่เชื่อลองนำชาเขียวเย็นเทใส่ชามก๋วยเตี๋ยวดู ก็จะเกิดไขเกาะชามก๋วยเตี๋ยวทันที!!!

เห็นข้อมูลจากฟอร์เวิร์ดเมล์ข้างต้น ก็ทำให้ผู้รักสุขภาพที่นิยมดื่มชาเขียว หนาว ๆ ร้อน ๆ ขึ้นมาทันทีใช่ไหมล่ะ แต่จริง ๆ แล้ว ความเชื่อดังกล่าวไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด วันนี้เราจะมาไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องชาเขียวกัน

โดยคำอ้างในฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ระบุว่า ให้ทดสอบชาเขียวแช่เย็น โดยการเทน้ำชาเขียวลงไปในชามก๋วยเตี๋ยว แล้วจะพบคราบไขมันลอยจับที่ชามก๋วยเตี๋ยวทันที กรณีนี้มีคนได้วิเคราะห์ว่า บทพิสูจน์ดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล เพราะความเป็นจริงการเทน้ำเย็น ๆ ไม่ว่าน้ำอะไรก็ตามลงไปในชามก๋วยเตี๋ยว ก็เกิดเป็นไขได้ทั้งนั้น ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของไขมัน ที่เปลี่ยนอุณหภูมิกะทันหันนั่นเอง

ส่วนเรื่องที่ว่า "ชาเขียวแช่เย็น" จะทำให้เกิดโรคได้จริงหรือไม่นั้น อาจารย์สง่า ดามาพงศ์ นักโภชนาการและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ได้เคยให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้ว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่า การดื่มชาเขียวเย็นจะทำให้เกิดโรคได้ รวมทั้งยังไม่มีผลวิจัยว่า การดื่มชาเขียว จะสามารถยับยั้งการเกิดมะเร็งในคนได้อย่างที่คนร่ำลือกัน แม้ที่ยอดใบชาจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ป้องกันการเกิดมะเร็งได้จริงก็ตาม

ขณะที่ นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์ธรรมชาติบำบัด ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี ก็พูดถึงเรื่องการดื่มชาเขียวว่า การกินชาเขียวให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระจริง ๆ จะต้องชงชาเขียวเข้มข้นแบบญี่ปุ่น และต้องดื่มชาเขียวอย่างน้อยวันละ 20 แก้ว เป็นประจำทุกวัน จึงจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ ซึ่งในทางปฏิบัติอาจทำได้ยาก

แต่สำหรับการดื่มน้ำชาเขียวปัจจุบัน เป็นชาเขียวที่เจือจาง และยังปรุงรสแต่งกลิ่นด้วยน้ำตาล ซึ่งหากดื่มมาก ๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้ ดังนั้นจะดื่มร้อนหรือเย็นก็ไม่ต่างกัน
เช่นเดียวกับ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ. สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ที่ระบุว่า การดื่มชาเขียวเย็นจะทำให้เกิดมะเร็งได้นั้น ไม่น่าจะเป็นความจริง ส่วนเรื่องการดื่มชาร้อน ๆ แม้จะมีผลวิจัยระบุว่า สารต้านอนุมูลอิสระในชาจะหายไปประมาณ 20% หากโดนความร้อนนาน ๆ แต่คนที่ดื่มชาส่วนใหญ่จะชงชาดื่ม ไม่ต้มชา ดังนั้นจึงไม่เป็นปัญหาอะไร พร้อมให้เคล็ดลับแถมท้ายมาด้วยว่า การชงชาเขียวให้สารต้านอนุมูลอิสระคงอยู่ ทำได้โดยบีบมะนาวลงไประหว่างชงชา

นอกจากนี้ นพ.กฤษดา ยังได้แนะนำว่า ผู้ที่ท้องอืดบ่อย ๆ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และคนที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรดื่มชา เพราะจะยิ่งทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น รวมทั้งคนที่เป็นโรคไต ก็ไม่ควรดื่ม เพราะจะทำให้ปัสสาวะบ่อย

สรุปได้ว่า ณ วันนี้ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ออกมายืนยันว่า การดื่มชาเขียวเย็น ๆ จะทำให้เกิดโรคอย่างที่เสียงลือเสียงเล่าอ้างบอกมา แต่อย่างไรก็ตาม หากชอบดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ "น้ำเปล่า" ธรรมดา ๆ นี่แหละ ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อยเลยล่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เดลินิวส์




Categories