บทความเด่น: ยิ่งกว่าหยาดเหงื่อและแรงบันดาลใจ
นิตยสาร Life ยกย่องเขาว่าเป็นบุคคลหมายเลขหนึ่งแห่งสหัสวรรษ จำนวนสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นก็น่าทึ่ง – มีถึง 1093 อย่าง เขาถือสิทธิบัตรมากกว่าใครๆ โดยได้รับอย่างน้อยทุกๆ ปีเป็นเวลา 65 ปีติดต่อกัน เขายังได้พัฒนาห้องทดลองค้นคว้าวิจัยสมัยใหม่เขาผู้นี้คือ โธมัส เอดิสัน เมื่อพูดถึงความสามารถของเอดิสัน คนส่วนใหญ่ยกย่องความเป็นอัจฉริยะในการประดิษฐ์ของเขา แต่เขาเองยกย่องการทำงานหนัก เขากล่าวว่า “อัจฉริยะก็คือหยาดเหงื่อ 99% และแรงบันดาลใจ 1%” ผมเองเชื่อว่าความสำเร็จของเอดิสันเป็นผลมาจากปัจจัยที่ 3 ด้วย นั่นก็คือทัศนคติที่ดีของเขา อ่านต่อ...
บทความที่น่าสนใจ The 3rd Birthday ล่าสุดสดๆร้อนๆ / ไทยจ่อเลิกใช้“แบล็คเบอร์รี่” / Code Geass R2 รางวัล การ์ตูนญี่ปุ่น Anime ยอดเยี่ยมปี 2009 / พลิกปูมงบ ส.ส.ในอดีต / ความลับของ Internet / Amazing in Thailand / สุดเซอร์ไพรส์ 6 เรื่องแปลก ผ่าน Facebook ที่คุณต้องอ่าน... / Nielsen รายงาน Android แซง iPhone ได้เป็นครั้งแรก

ปัญหาและจุดอ่อนของการกำหนดกลยุทธขององค์กรคือ ไม่สามารถทำให้เป็นไปได้ในภาคปฎิบัติ และถึงแม้ว่าจะได้มีการวางแผนกำหนดกลยุทธอย่างเป็นระบบแล้วก็ตาม ในทางปฎิบัติอาจจะพบว่าในหลายๆ ครั้งกลยุทธเกิดเป็นรูปร่างขึ้นมาจากการกระทำกิจกรรมของสมาชิกในองค์กร ซึ่งเป็นผลการศึกษาวิจัยที่ เจมส์ ไบรอัน ควินส์ ได้มาจากการศึกษานักกลยุทธในองค์กรบรรษัทข้ามชาติจำนวน 9 องค์กร และพบว่า กลยุทธที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะของการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป (Logical Incrementalism)

ในลักษณะนี้กลยุทธเกิดจาก ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรกำหนดเป้าหมายและนโยบายอย่างกว้างๆ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ระดับล่างได้เสนอความคิดเห็น กำหนดการกระทำ ชี้แนวทางที่ค่อยๆ หล่อหลอมรวมกันจากระดับล่างสุดขององค์กรสู่ระดับสูงขึ้นจนถึงสุดยอดของการบริหารในองค์กรในที่สุด ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า กระบวนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กรที่มีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาตามแต่โอกาสจะเอื้ออำนวยนี้จะมีผลต่อการกำหนดกลยุทธขององค์กรในที่สุด

แนวความคิดการก่อตัวขึ้นของกลยุทธที่เริ่มจากระดับล่างขึ้นไปสู่ระดับนี้จึงมีความแตกต่างอย่างสำคัญจากการกำหนดกลยุทธโดยทั่วไปอย่างสิ้นเชิง และที่สำคัญมีความเป็นไปได้ว่า โครงสร้างและกระบวนการภายในจะเป็นตัวกำหนดกลยุทธมากกว่าการที่กลยุทธเป็นตัวตั้งและกำหนดการบริหารจัดการภายใน

ที่มา: หนังสือองค์การ ทฤษฎี โครงสร้างและการออกแบบ โดยอัมพรธำรงลักษณ์



0 Response to 'กลยุทธแบบพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป'

แสดงความคิดเห็น

Categories