บทความเด่น: ยิ่งกว่าหยาดเหงื่อและแรงบันดาลใจ
นิตยสาร Life ยกย่องเขาว่าเป็นบุคคลหมายเลขหนึ่งแห่งสหัสวรรษ จำนวนสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นก็น่าทึ่ง – มีถึง 1093 อย่าง เขาถือสิทธิบัตรมากกว่าใครๆ โดยได้รับอย่างน้อยทุกๆ ปีเป็นเวลา 65 ปีติดต่อกัน เขายังได้พัฒนาห้องทดลองค้นคว้าวิจัยสมัยใหม่เขาผู้นี้คือ โธมัส เอดิสัน เมื่อพูดถึงความสามารถของเอดิสัน คนส่วนใหญ่ยกย่องความเป็นอัจฉริยะในการประดิษฐ์ของเขา แต่เขาเองยกย่องการทำงานหนัก เขากล่าวว่า “อัจฉริยะก็คือหยาดเหงื่อ 99% และแรงบันดาลใจ 1%” ผมเองเชื่อว่าความสำเร็จของเอดิสันเป็นผลมาจากปัจจัยที่ 3 ด้วย นั่นก็คือทัศนคติที่ดีของเขา อ่านต่อ...
บทความที่น่าสนใจ The 3rd Birthday ล่าสุดสดๆร้อนๆ / ไทยจ่อเลิกใช้“แบล็คเบอร์รี่” / Code Geass R2 รางวัล การ์ตูนญี่ปุ่น Anime ยอดเยี่ยมปี 2009 / พลิกปูมงบ ส.ส.ในอดีต / ความลับของ Internet / Amazing in Thailand / สุดเซอร์ไพรส์ 6 เรื่องแปลก ผ่าน Facebook ที่คุณต้องอ่าน... / Nielsen รายงาน Android แซง iPhone ได้เป็นครั้งแรก
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


เคยได้ยินกันมาว่า "ชาเขียว" เป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก จึงช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดกลิ่นปาก ป้องกันฟันผุ ฯลฯ จึงทำให้ความนิยมใน "ชาเขียว" เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ

แต่ทว่า มีหลายคนเคยได้รับฟอร์เวิร์ดเมล์ เตือนภัยเกี่ยวกับเรื่องการดื่มชาเขียว ในทำนองว่าต้องดื่มชาเขียวที่ร้อน ๆ เท่านั้น ถึงจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง หากกลับกันไปดื่มชาเขียวแช่เย็น อย่างที่เรา ๆ นิยมกัน จะกลายเป็นโทษมหันต์ เพราะนอกจากจะไม่ช่วยลดอนุมูลอิสระสารพิษออกจากร่างกายแล้ว ยังก่อให้เกิดมะเร็งได้อีก แถมยังทำให้ไขมันในร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และอุดตันตามผนังลำไส้ ทำให้เกิดโรคร้ายตามมาได้อีก หากไม่เชื่อลองนำชาเขียวเย็นเทใส่ชามก๋วยเตี๋ยวดู ก็จะเกิดไขเกาะชามก๋วยเตี๋ยวทันที!!!

เห็นข้อมูลจากฟอร์เวิร์ดเมล์ข้างต้น ก็ทำให้ผู้รักสุขภาพที่นิยมดื่มชาเขียว หนาว ๆ ร้อน ๆ ขึ้นมาทันทีใช่ไหมล่ะ แต่จริง ๆ แล้ว ความเชื่อดังกล่าวไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด วันนี้เราจะมาไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องชาเขียวกัน

โดยคำอ้างในฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ระบุว่า ให้ทดสอบชาเขียวแช่เย็น โดยการเทน้ำชาเขียวลงไปในชามก๋วยเตี๋ยว แล้วจะพบคราบไขมันลอยจับที่ชามก๋วยเตี๋ยวทันที กรณีนี้มีคนได้วิเคราะห์ว่า บทพิสูจน์ดังกล่าวไม่สมเหตุสมผล เพราะความเป็นจริงการเทน้ำเย็น ๆ ไม่ว่าน้ำอะไรก็ตามลงไปในชามก๋วยเตี๋ยว ก็เกิดเป็นไขได้ทั้งนั้น ซึ่งเป็นปฏิกิริยาของไขมัน ที่เปลี่ยนอุณหภูมิกะทันหันนั่นเอง

ส่วนเรื่องที่ว่า "ชาเขียวแช่เย็น" จะทำให้เกิดโรคได้จริงหรือไม่นั้น อาจารย์สง่า ดามาพงศ์ นักโภชนาการและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ได้เคยให้ข้อมูลที่น่าสนใจไว้ว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่า การดื่มชาเขียวเย็นจะทำให้เกิดโรคได้ รวมทั้งยังไม่มีผลวิจัยว่า การดื่มชาเขียว จะสามารถยับยั้งการเกิดมะเร็งในคนได้อย่างที่คนร่ำลือกัน แม้ที่ยอดใบชาจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ป้องกันการเกิดมะเร็งได้จริงก็ตาม

ขณะที่ นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์ธรรมชาติบำบัด ผู้อำนวยการศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี ก็พูดถึงเรื่องการดื่มชาเขียวว่า การกินชาเขียวให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระจริง ๆ จะต้องชงชาเขียวเข้มข้นแบบญี่ปุ่น และต้องดื่มชาเขียวอย่างน้อยวันละ 20 แก้ว เป็นประจำทุกวัน จึงจะสามารถป้องกันมะเร็งได้ ซึ่งในทางปฏิบัติอาจทำได้ยาก

แต่สำหรับการดื่มน้ำชาเขียวปัจจุบัน เป็นชาเขียวที่เจือจาง และยังปรุงรสแต่งกลิ่นด้วยน้ำตาล ซึ่งหากดื่มมาก ๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้ ดังนั้นจะดื่มร้อนหรือเย็นก็ไม่ต่างกัน
เช่นเดียวกับ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผอ. สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ที่ระบุว่า การดื่มชาเขียวเย็นจะทำให้เกิดมะเร็งได้นั้น ไม่น่าจะเป็นความจริง ส่วนเรื่องการดื่มชาร้อน ๆ แม้จะมีผลวิจัยระบุว่า สารต้านอนุมูลอิสระในชาจะหายไปประมาณ 20% หากโดนความร้อนนาน ๆ แต่คนที่ดื่มชาส่วนใหญ่จะชงชาดื่ม ไม่ต้มชา ดังนั้นจึงไม่เป็นปัญหาอะไร พร้อมให้เคล็ดลับแถมท้ายมาด้วยว่า การชงชาเขียวให้สารต้านอนุมูลอิสระคงอยู่ ทำได้โดยบีบมะนาวลงไประหว่างชงชา

นอกจากนี้ นพ.กฤษดา ยังได้แนะนำว่า ผู้ที่ท้องอืดบ่อย ๆ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และคนที่เป็นโรคหัวใจ ไม่ควรดื่มชา เพราะจะยิ่งทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น รวมทั้งคนที่เป็นโรคไต ก็ไม่ควรดื่ม เพราะจะทำให้ปัสสาวะบ่อย

สรุปได้ว่า ณ วันนี้ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ออกมายืนยันว่า การดื่มชาเขียวเย็น ๆ จะทำให้เกิดโรคอย่างที่เสียงลือเสียงเล่าอ้างบอกมา แต่อย่างไรก็ตาม หากชอบดื่มเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ "น้ำเปล่า" ธรรมดา ๆ นี่แหละ ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อยเลยล่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เดลินิวส์



0 Response to 'ไขความเข้าใจผิด ชาเขียวเย็น อันตราย จริงหรือ?'

แสดงความคิดเห็น

Categories